ภาษาต่างประเทศ


เทคนิคการอ่านภาษาอังกฤษ



Image result for English
ที่มา http://www.clubpimble.com

             เทคนิคการอ่านเร็วที่สำคัญและมีประโยชน์มี 2 แบบ คือ การอ่านแบบสกิมมิ่ง (Skimming) และ การอ่านแบบสแกนนิ่ง (Scanning) ทั้งสองเทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถอ่าน เรื่องได้รวดเร็วและเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ทันที ผู้เชี่ยวชาญทางการอ่านบางคนเรียกว่า ทักษะการ ค้นหา (Searching Skill) ซึ่งเป็นทักษะที่ผู้เรียนควรได้ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญต่อไป
การอ่านแบบข้าม (Skimming)
Skimming หรือ การอ่านแบบข้าม หรือบางสำนักเรียกว่า (skipping) เป็นวิธีการอ่านแบบหนึ่งที่แตกต่างจากการอ่านแบบธรรมดา เพราะการอ่านแบบนี้เป็นการอ่านผ่านๆเพื่อต้องการข้อมูลทั่วไป (general information) จะไม่อ่านทุกตัวอักษรแต่จะอ่านข้าม ๆ แต่ก็สามารถจับใจความของเรืองที่กำลังอ่านได้    การอ่านแบบนี้มีประโยชน์ต่อผู้อ่านอย่างมาก เพราะตัองอ่านหนังสือมากมายหลายเล่ม หรือข้อมูลจำนวนมากในเวลาอันจำกัด และไม่มีเวลาพอที่จะอ่านทุกเล่มอย่างละเอียดถี่ถ้วน ดังนั้นผู้อ่านต้องรู้วิธี Skim เพื่อประหยัดเวลาSkimming ยังถือเป็นหนึ่งในสองความสามารถการอ่านในเชิงปฎิบัติ นอกเหนือจาก scanning (การอ่านเร็ว) ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีความสำคัญในการฝึกทักษะการอ่านที่มีประสิทธิภาพ
 ทำไมต้อง skimming เวลาอ่าน ?
 ก็เพราะ Skimming เป็นรูปแบบการอ่านแบบหนึ่งจากสองแบบที่จำเป็นมากๆ หากคุณได้อ่านบทความภาษาอังกฤษจำนวนมาก จะพบว่าเป็นการยากมากที่จะหาคำตอบจากสิ่งที่โจทย์ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากบทความนั้นยาวมาก เทคนิคการอ่านแบบนี้ คือการอ่านด้วยความไวสูง ไม่สนใจรายละเอียดหากแต่กวาดตามองไปอย่างรวดเร็ว มองหา Keyword หรือคำหลักที่โจทย์ต้องการในบทความด้วยความไวสูงซึ่งการอ่านแบบนี้มีประโยชน์มากเมื่อเราต้องการทราบภาพรวมๆของบทความนั้นๆ เพราะจะไม่เปลืองสมองมากนัก
ประโยชน์ของ skimming?
             อย่างที่เกริ่นไปตอนต้น วิธีการอ่านผ่านนับเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเวลาในการอ่านได้เป็นอย่างมากเพราะผู้อ่านไม่จำเป็นต้องอ่านเรื่องทั้งหมด แต่เป็นการเลือกอ่านเฉพาะส่วนที่สำคัญและอ่านด้วยความรวดเร็วอย่าให้ความสนใจศัพท์แสงที่ไม่ทราบจนมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความกังวล ควรข้ามส่วนซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่สำคัญออกไป การอ่านข้ามเป็นสิ่งที่คนน้อยคนมากๆจะทำได้ดี เพราะคนอ่านมักขาดความมั่นใจว่าได้อ่านข้อความที่สำคัญจริงๆ และกลัวว่าจะอ่านข้าม ข้อความที่สำคัญของเรื่องไปทำให้ไม่กล้าอ่านข้าม 
Skimming และ scanning ต่างกันอย่างไร?
Skimming และ scanning ต่างเป็นเทคนิคการอ่านเร็วทั้งคู่ แต่ scanning นั้นจะกวาดสายตาหาเฉพาะสิ่งที่เราต้องการ (a particular thing or person) เท่านั้น เช่น หาคำบางคำ ในสมุดโทรศัพท์เป็นต้น โดยจะไม่อ่านทุกบรรทัดหรือทุกหน้า จะกระโดดจากหน้านี้ไปหน้าโน้นเลย จุดมุ่งหมายอยู่ที่คำบางคำ เท่านั้น ส่วนskimming นั้นจะกวาดสายตาหาเฉพาะสาระสำคัญที่ต้องการ (a particular point or main points) เท่านั้น เช่นWhy did so many people visited this national convention center last week? Why? = The exhibition? Why? = The major event? 
จุดมุ่งหมายของskimming?
จุดมุ่งหมายสำคัญของการอ่านแบบข้าม คือ การค้นหาจุดสำคัญที่ของเรื่อง (Topic) ว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการอ่านหนังสือ จากความสำคัญนี้เอง ข้อสอบในส่วนที่เป็น Reading comprehension ส่วนมากจะมีคำถามเกี่ยวกับความคิดหลัก (Main Idea) ของเรื่องอย่างน้อยหนึ่งข้อ 
 การอ่านแบบข้าม นับเป็นวิธีการอ่านที่ผู้อ่านมุ่งหวังที่จะทราบรายละเอียดของเนื้อเรื่องหรือข้อความที่อ่าน โดยการกวาดสายตาหาหัวเรื่องที่เราสนใจและจะค้นหาเฉพาะแนวความคิดหลักเท่านั้น การอ่านแบบนี้ จะอ่านข้ามเป็นตอนๆ และอาจข้ามบางประโยคหรือบางบรรทัดไป คือไม่อ่านทุกคำแต่มองหาประเด็นหรือใจความสำคัญ (main idea) หรือหาคำสำคัญของเรื่อง (key words) โดยผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้กล่าวไว้ว่าเป็นการอ่านด้วยนิ้ว (reading with fingers) ด้วยซ้ำ การอ่านประเภทนี้มักจะใช้กับการอ่านบทความ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร นวนิยาย สำหรับจุดมุ่งหมายของการอ่าน เพื่อหาประเด็นหรือใจความสำคัญโดยทั่วไป เพื่อเก็บรายละเอียดที่สำคัญบางอย่างเท่านั้น
                      การอ่านวิธีนี้จะไม่เน้นอ่านทุกคำหรือทุกประโยค แต่จะจับเฉพาะคำสำคัญ (key word) ที่แฝงอยู่บอกว่าเนื้อเรื่องทั้งหมดนั้นเกี่ยวกับเรื่องอะไรเท่านั้น ซึ่งหลักปฏิบัติในการอ่าน สรุปได้ดังนี้
                1. อ่านสองหรือสามคำแรกและ/หรือ สองหรือสามคำสุดท้ายในแต่ละประโยคคือการอ่านข้ามสิ่งที่คิดว่าไม่มี
ความสำคัญในประโยคจะเข้าใจประโยคนั้นหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนและโครงสร้างของประโยคเป็นสำคัญ
               

                2. การพรีวิว (Preview) คือความสามารถที่จะคิดและคาดการณ์เห็นแนวคิดบางอย่างได้ล่วงหน้าก่อการอ่านจริง การพรีวิวช่วยให้จับประเด็นได้เร็วขึ้นและช่วยให้อ่านข้ามข้อความโดยไม่เสียอรรถรส วิธีอ่านคือ อ่านประโยคแรกและประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้าอย่างเร็วก่อนแล้วจึงไปอ่านซ้ำอีกครั้งเพื่อเก็บใจความสำคัญต่อไป ซึ่งอ่านเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญในแต่ละย่อหน้าเท่านั้น
                3. อ่านส่วนแรกของประโยคเร็วๆ วิธีนี้ จะไม่อ่านจนจบประโยค แต่จะกวาดสายตามองผ่านๆ แล้วเริ่มต้นอ่าน
ประโยคใหม่ ทำเรื่อยๆจนจบประโยคที่ต้องการจะอ่าน ขณะอ่านสายตาจะจับอยู่ที่ทางด้านซ้ายมือของประโยคตลอดเวลา คืออ่านข้อความแค่หนึ่งในสามของประโยคเท่านั้น
                4. อ่านเฉพาะส่วนกลางของหน้าหนังสือ สายตาจะจับเฉพาะตอนกลางของหนังสือเท่านั้น และอ่านเกือบทุกประโยคด้วย
                5. อ่านแต่เฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญ โดยที่สำคัญอาจเป็นตัวเอน ตัวหนา หรือมีตัวเลขกำกับอยู่ในเครื่องหมายคำพูดก็ได้ บางครั้งอาจขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ หรือขีดเส้นใต้ไว้ก็ได้อาจเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งใยบรรดาที่กล่าวมาทั้งหมดก็ได้
                    จากที่กล่าวมาทั้งหมด 5 ข้อ ยังมีสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งนั่นคือ Topic Sentence ซึ่งก็คือ ประโยคที่บรรจุหัวเรื่องและใจความสำคัญไว้โดย Topic Sentence มักจะวางอยู่ที่ประโยคแรกหรือประโยคสุดท้ายของข้อความ และส่วนน้อยที่อยู่ตอนกลางของเรื่อง และบางข้อความไม่มี Topic Sentence ผู้อ่านต้องสรุปเอาเองจากเนื้อเรื่องในบทความนั้น
สรุป 7 ขั้นตอนของการ Skimming มีดังนี้คือ:
1.อ่านหัวเรื่อง 
2.ดูชื่อผู้แต่ง และหนังสืออ้างอิง
3.อ่านย่อหน้าแรกอย่างละเอียดและรวดเร็ว เพื่อจับใจความสำคัญของเรื่อง ( main idea )
4.อ่านหัวเรื่องย่อยและประโยคแรกของย่อหน้าที่เหลือ
5.อ่านเรื่องทั้งหมดอย่างรวดเร็วเพื่อหา
   
   1 main idea, Topic ของทุกย่อหน้าพร้อมทั้ง supporting detail
    2 clue words เช่น ชื่อคน ชื่อวัน และ adjective ที่สำคัญ
    3 คำที่แสดงความคิดของผู้แต่ง เช่น เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
    4 เครื่องหมายตัวชี้ต่าง ๆ เช่น ตัวพิมพ์เอน ตัวพิมพ์หนา ลูกศร ดาว ฯลฯ
6. อ่านย่อหน้าสุดท้ายอย่างรวดเร็วและละเอียด
7. เพ่งเล็งลักษณะตัวพิมพ์พิเศษ เช่น ตัวเอน ตัวหนา ดาว ฯลฯ ให้ดี สำคัญมากเพราะจุดนี้จะบอกให้รู้ถึงการเน้นย้ำใจความสำคัญ
หลักวิธีการอ่านแบบคร่าวๆ (Reading Methods for Skimming)
สำหรับเทคนิคการอ่านแบบ skimming คือให้พยายามกวาดสายตาไปเรื่อยๆ ผ่านบทความ ให้รู้สึกเหมือนกับว่าตนเองเวลาอ่าน ไม่ได้อ่านแล้วแปลเป็นภาษาไทยถึงเข้าใจ แต่ให้อ่านแบบเข้าใจเป็นภาษาอังกฤษเลย  
Tip and Tricks: เคล็ดลับในการ skimming
การอ่านแบบข้าม เป็นการอ่านผ่านเพื่อค้นหาเฉพาะข้อความสำคัญก่อนที่จะ อ่านข้อเขียนนั้นอย่างละเอียด ผู้อ่านจะมองข้อเขียนนั้นโดยรวมว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ค้นหาเฉพาะข้อความสำคัญและข้ามส่วนที่คิดว่าเป็นรายละเอียดปลีกย่อยไป ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อสรุปและความคิดเห็นทั่วไปของเรื่องที่จะอ่าน ได้ข้อคิดอย่างกว้าง ๆ ของผู้แต่ง เราใช้วิธีการอ่านแบบนี้เมื่อต้องการหาประเด็นสำคัญภายในเวลาอันรวดเร็ว ในการอ่านแบบข้าม ผู้อ่านจะทราบสิ่งต่อไปนี้ ข้อเขียนนั้นเขียนขึ้นเพื่อใคร เช่น ผู้อ่านทั่วไป หรือผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ เป็นต้น ข้อเขียนนั้นมีรูปแบบใด เช่น รายงาน จดหมายที่เขียนอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ บทความ โฆษณา เป็นต้น ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์อะไรในการเขียน เช่น เพื่อพรรณนา อธิบายแจ้งข่าวสาร สั่งสอน ชักชวน เป็นต้น เนื้อหาโดยทั่วไปของข้อเขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร









การอ่านแบบคร่าว (Scanning)
การอ่านแบบคร่าว (Scanning) คือการอ่านเร็วที่ไม่ได้ค้นหาความคิดสำคัญของเรื่อง แต่ค้นหาข้อมูลเฉพาะที่ต้องการทราบ เช่น ข้อเท็จจริง วันที่ ชื่อ สถิติ เป็นต้น อย่างที่หลายท่านทราบ Scanning คือการอ่านเร็ว เหมือนกับ Skimming แต่ต่างกันตรงที่ Scan เป็นการอ่านอย่างรวดเร็วเพื่อหาข้อมูลบางอย่างที่ต้องการ เช่น การหาชื่อคนในสมุดโทรศัพท์ เป็นต้น

      ตัวอย่างที่ดีของการ Scan วิธี Scan นี้มีประโยชน์มากในการอ่าน เพราะทำให้ได้ข้อมูลที่ต้องการภายในเวลารวดเร็ว เช่น ในเวลาอ่านเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผู้เรียนอาจต้องหาเพียง ชื่อ วันที่ สถิติ หรือข้อเท็จจริงบางอย่างเท่านั้น ผู้เรียนไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอ่านเรื่องทั้งหมด เพียงแต่กวาดสายตาอย่างรวดเร็ว ทีละ 2 – 3 บรรทัด เพื่อหาสิ่งที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือ ผู้เรียนต้องรู้อยู่ตลอดเวลาว่า กำลังหาอะไร ในใจ จะต้องกำหนดสิ่งนั้นอย่างชัดเจน เพื่อที่เวลาอ่านจะได้รู้สึกว่สิ่งที่ต้องการจะปรากฏออกมาอย่างเด่นชัด

เคล็ดลับการ scan (Tips and Tricks)
    อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น การอ่านแบบรวดเร็ว เพื่อหาคำตอบที่ต้องการ เช่น การหาเบอร์โทรศัพท์ในสมุดโทรศัพท์การค้นหาดรรชนีในหนังสือตำราเรียนการอ่านโฆษณาต่าง ๆ หรือแม้แต่การค้นหาคำศัพท์ในพจนานุกรม ชุดของคำถามที่ผู้เรียนมักจะเจอ ในการถามรายละเอียดในการอ่านแบบscanning อาจมีดังนี้ According to the passage , The passage states that,  The author states that,  What does the author say about, Which of the following is not true?,  Which of the following is not stated in the passage?,  All of the followings are true except.

ขั้นตอนง่ายๆในการอ่านด้วยวิธี Scanning มีดังนี้
       1.  อ่านคำถามเกี่ยวกับข้อความนั้น ๆ ก่อนเพื่อประหยัดเวลา และช่วยในการหาคำตอบได้รวดเร็วขึ้น
       2.  อ่านข้อความ หรือ scan ย่อหน้าอย่างรวดเร็ว เมื่อพบข้อความเกี่ยวกับคำตอบแล้ว ให้อ่านช้าลงและรอบคอบระมัดระวัง และพยายามหาคำและกลุ่มคำที่สำคัญ (Key words and phrases) ที่จะช่วยให้คำตอบที่ถูกต้อง
       3.  หากเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple choices) ให้ตัดคำตอบที่ผิดออกและเลือกคำตอบที่ดีที่สุดที่เหลืออยู่




วิธีการอ่านแบบคร่าวที่มีประสิทธิภาพมีขั้นตอนดังนี้
สำรวจข้อเขียนนั้นโดยภาพรวมว่ามีโครงสร้างแบบใด
  เพื่อประโยชน์ใน การค้นหาว่าประเด็นสำคัญอยู่ในตำแหน่งใดบ้าง หัวเรื่องย่อยต่าง ๆ นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยบอกประเด็นสำคัญของเรื่อง ในการอ่านแบบคร่าวนี้ส่วนประกอบที่เป็น แผนที่ ตาราง กราฟ แผนภูมิ แผนผัง ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยบอกสาระสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนต้องการอธิบายได้
รู้วัตถุประสงค์ของการอ่านว่าเราต้องการค้นหาอะไรจากข้อเขียนนั้น
วัตถุประสงค์ของการอ่านจะเป็นสิ่งกำหนดเป้าหมายว่าเราต้องการคำตอบในเรื่องใดผู้อ่านควรตั้งวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้การค้นหาคำตอบเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น
คาดเดาหรือทำนายจากการใช้คำในเรื่อง
  เช่น หากเรา ต้องการทราบจำนวนประชากร เราก็ต้องมองหาตัวเลขในเรื่องนั้น หากเราต้องการทราบการนิยามความหมายของคำก็อาจมองหาข้อความที่มีลักษณะการพิมพ์แตกต่างไปจากปกติ เช่น ตัวเข้ม ตัวเอียง หรือใช้เครื่องหมายคำพูด เป็นต้น
ระบุตำแหน่งที่น่าจะค้นหาคำตอบที่ต้องการทราบได้
การค้นหาตำแหน่งที่น่าจะพบคำตอบนี้ใช้วิธีการเดียวกับการอ่านแบบข้ามได้แก่การดูที่ย่อหน้าแรกประโยคแรกหรือประโยคสุดท้ายของย่อหน้า หัวเรื่อง และย่อหน้าสุดท้าย
ใช้รูปแบบการค้นหาที่เป็นระบบ
เมื่อทราบวัตถุประสงค์ในการอ่าน ว่าต้องการอะไร และตำแหน่งที่จะค้นหาคำตอบได้อยู่ที่ใดแล้ว ก็เริ่มอ่านแบบคร่าวโดยกวาดสายตามองข้อเขียนนั้นอย่างรวดเร็วแต่มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน อย่างไรก็ตามลักษณะการกวาดสายตาก็ขึ้นอยู่กับการจัดวางเนื้อหาของข้อเขียนนั้นด้วยว่าต้องกวาดสายตาอย่างไร เช่น จากซ้ายไปขวา หรือจากบนลงล่าง เป็นต้น
ยืนยันคำตอบที่ต้องการจากการอ่าน
ทันทีที่เราตอบคำถามตัวเองได้ว่าต้องการคำตอบในเรื่องอะไรแล้ว ก็ลงมืออ่านเพื่อค้นหาประโยคที่คิดว่าจะเป็นคำตอบ
ตรวจดูบัญชีรายชื่อและตาราง
สิ่งสำคัญในการอ่านแบบคร่าวก็คือ เราต้องเข้าใจว่าผู้เขียนมีวิธีเรียบเรียงและจัดแบ่งข้อมูลต่าง ๆ อย่างไร เช่น การค้นหารายการโทรทัศน์ที่มีวิธีการจัดแบ่งตามวันและเวลาที่ออกอากาศ แต่อยู่ภายใต้การจัดแบ่งตามสถานีและชื่อรายการ หรือในหนังสือพจนานุกรม สารานุกรม จะมีการจัดเรียงคำตามลำดับตัวอักษร คำที่อยู่บรรทัดบนสุดของหน้ากระดาษจะเป็นตัวชี้ให้ทราบว่าคำแรกและคำสุดท้ายในหน้านั้นคือคำใด ช่วยให้ผู้อ่านค้นหาคำได้สะดวกรวดเร็วขึ้น ในการอ่านแบบคร่าวก็เช่นกัน เรามักใช้วิธีดูที่อักษรตัวแรกของแต่ละบรรทัดว่าตรงกับคำที่เราต้องการหรือไม่ หากไม่พบก็อาจดูสองคำแรก จนกว่าจะพบคำที่ต้องการค้นหา


การค้นหาคำตอบจากข้อเขียนแบบพรรณนา
โครงสร้างของข้อเขียนที่มีรูปแบบการเขียนแบบพรรณนานั้นมักค้นหาได้ยากกว่าข้อเขียนที่เขียนในรูปแบบของการจัดวางเป็นคอลัมน์ หรือตาราง การอ่านข้อเขียนประเภทนี้แบบคร่าว ๆ ส่วนใหญ่แล้วต้องอาศัยการค้นหาคำที่แสดงร่องรอยให้เราสามารถคาดเดาเรื่องราวได้ ในการอ่านข้อเขียนลักษณะดังกล่าวเราต้องกวาดสายตาดูที่ย่อหน้าต่าง ๆ ให้ทั่วถึง พยายามให้คำสำคัญหรือ คีย์เวิร์ด (Keyword) ที่จะช่วยในการตอบคำถามของเราเด่นชัดขึ้นมา

























ตัวอย่างการอ่านแบบ Skimming
Skim the following passage and then answer the two questions below.
Questions: 
1.    Where is the Taj Mahal built?
2.              Who built the Jaj Mahal?
3.             In what year did the Emperor Shah Jahan's beloved wife passed away?
4.             What trees wee grown in the walled garden?
5.             What was square building made?
The Taj Mahal
            Often called the most beautiful building in the world, The Taj Mahal stands in the town of Agra in India. It is in fact a tomb built by the emperor Shah Jahan for his wife who died in 1931.
            Visitors to the Taj Mahal enter through a red sandstone gateway which leads into a beautiful walled garden in which a watercourse runs between rows of slender cypress trees. A the end of
the watercourse The Jaj Mahal stands on a marble terrace.
            It’s square building made from pure white marble and topped by a dome. Four slender white minerals or towers rise from the corners of the terrace. Beneath the dome is an eight-sided chamber with a carved marble screen around the tombs of the emperor and his wife.
            The chief architect of the Taj Mahal was Ustad Isa, who may have been a Persian. The building and ornamentation was done by 20,000 men and craftsmen from all parts of Asia. (1632-1650.)


ตัวอย่างการอ่านแบบ Scanning
Scan this passage below and choose the best alternatives for each question.
Questions:
1.    How much tom yum kung do you have which helps keep cancer away?
2.     Why does tom yum kung help keeping cancer away?
3.     Who studies about this food?
4.     What are the main ingredients of tom yum kung ?
 Tom Yum Kung keeps cancer away
 A bowl of tom yum kung a day helps keep cancer away.  According to a Thai-Japanese study.
Although the result is only preliminary, the researchers say the world’s most popular Thai dish has several anti-cancer properties more effective than other antioxidants.
Substances found in galangal, lemon grass and kaffir lime leaves-the main ingredients found in the spicy soup-are 100 times more effective in preventing tumors than those found in other food.
 “ Thai cuisine is full of herbs and spices which are known for their health benefits “ said Suratwadee Jiwajinda, a researcher at Central Laboratory and Greenhouse complex, Kasetsart University.



ที่มา : http://achiraya54.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น