สุขศึกษา


ทักษะเพื่อชีวิต

Image result for สุขศึกษา ทักษะชีวิต

ทักษะเพื่อชีวิต
ตัวชี้วัด
               เลือกใช้ทักษะที่เหมาะสมในการป้องกัน ลดความขัดแย้ง และแก้ปัญหาเรื่องเพศและครอบครัว(พ ๒.๑ ม.๖/๓)
ผังสาระการเรียนรู้
ทักษะเพื่อชีวิต : ทักษะชีวิตในการป้องกันและลดความขัดแย้ง
  • -ทักษะการสื่อสาร
  • -ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ
  • -ทักษะการต่อรอง
  • -ทักษะการปฏิเสธ
  • -ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • -ทักษะการตัดสินใจ
  • -ทักษะการแก้ปัญหา
สาระสำคัญ
               ใน การดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีทักษะชีวิตที่ดีจะสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ดี เราจึงควรฝึกฝนและเลือกใช้ทักษะชีวิตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันลดความขัดแย้ง และแก้ปัญหาเรื่องเพศ และครอบครัว
ทักษะชีวิตในการป้องกันและลดความขัดแย้ง
จุดประกายความคิด
               นักเรียนคิดว่าบุคลิกลักษณะนิสัยของเพื่อนคนใดในชั้นเรียนที่ไม่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาความขัดแย้ง เพราะอะไร
               การดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวละสังคม บางครั้งอาจพบเจอปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ การมีความรู้ในทักษะชีวิตและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะช่วยป้องกันและ แก้ไขปัญหา รวมทั้งลดความขัดแย้งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งทักษะชีวิตที่ควรเรียนรู้ มีดังนี้
๑.ทักษะการสื่อสาร
               ทักษะ การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้คำพูดและภาษาท่าทางเพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนอย่าง เหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรมและสถานการณ์ต่างๆ โดยสามารถที่จะแสดงความคิดเห็น ความปรารถนา ความต้องการ การขอร้อง การเตือน และการขอความช่วยเหลือ
               การสื่อสารนั้นสามารถทำได้หลายช่องทาง เช่น การพูดคุยกันต่อหน้า การพูดคุยกันทางโทรศัพท์ การพูดคุยกันทางอินเทอร์เน็ต การส่งจดหมายติดต่อถึงกัน การส่งอีเมล์ การส่งข้อความทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ การมีทักษะในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้คนในครอบครัวมีความเข้าใจกัน เป็นการช่วยป้องกันและลดความขัดแย้งในครอบครัวลงได้ หรือแม้แต่ปัญหาเรื่องเพศ พ่อ แม่ ลูก หรือสามี ภรรยา ก็สามารถสื่อสารพูดคุยกันได้ เมื่อครอบครัวมีความเข้าใจกันก็สามารถแก้ปัญหาในเรื่องเพศได้ การมีทักษะการสื่อสารที่ดี จำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะในด้านการเป็นผู้พูดที่ดีและการเป็นผู้ฟังที่ดี ดังนี้
๑.๑ การเป็นผู้พูดที่ดี ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
พูดกับใคร
               การพูดนั้นต้องใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับคนที่เราพูดด้วย เช่น พูดกับพ่อแม่ พูดกับเพื่อน หรือ พูดกับเด็ก พูดกับผู้ใหญ่ ก็จะต้องใช้ระดับภาษาที่ต่างกันและควรใช้คำสุภาพเพราะการใช้คำพูดที่ไม่ สุภาพอาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้
พูดที่ไหน
               การพูดนั้นต้องใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับสถานที่ ควรดูว่าเป็นที่ส่วนตัว ที่สาธารณะ หรือ อยู่ในพิธีการ ควรใช้คำพูดและระดับเสียงให้เหมาะสมกับสถานที่นั้น เช่น หากนักเรียนอยู่ในพิธีไหว้ครูแล้วจำเป็นต้องพูดกับเพื่อนควรพูดอย่างกระชับ โดยใช้น้ำเสียงเบาเพื่อนไม่ให้รบกวนผู้อื่น
พูดเวลาใด
               การพูดนั้นควรคำนึงถึงอารมณ์ของผู้ที่เราสนทนาด้วยว่าในเวลานั้นเป็นอย่างไร หรือ สถานการณ์ในขณะนั้นเราควรจะพูดอย่างไร เช่น ไม่ควรพูดเล่นในขณะที่พูดเป็นการเป็นงาน ไม่พูดเย้าแหย่ในขณะที่มีอารมณ์โกธร
พูดในโอกาสใด
               การพูดคุยในโอกาสต่างๆ ควรมีความแตกต่างกัน เช่น ในงานสังสรรค์อาจพูดคุยกันอย่างเต็มที่สนุกสนาน  ใน งานศพควรสำรวมกิริยาไม่หัวเราะ ไม่พูดตลกขบขัน ในงานแต่งงานควรใช้คำพูดที่เป็นสิริมงคล ไม่ควรพูดล้อเล่นให้คู่บ่าวสาวเกิดความระแวงแคลงใจกัน
พูดอย่างไร
               เป็นการพูดให้ผู้ฟังรู้สึกชอบใจ ซึ่งต้องใช้คำพูดที่สุภาพ นุ่มนวล ไม่หยาบคาย เป็นคำพูดในเชิงบวก ไม่พูดติเตียนให้ร้ายผู้อื่น ใช้คำพูดที่ไพเราะพูดด้วยความจริงใจไม่เสแสร้ง ถ้าทำได้ เช่นนี้ ก็จะทำให้ผู้ฟังหรือคู่สนทนาพอใจ
คำศัพท์สำคัญ
Communication (คะมิวนิเค_ชัน) การติดต่อสื่อสาร
Conversation (คอนเวอเซ_ชัน) การสนทนา การพูดคุยกัน
๑.๒ การเป็นผู้ฟังที่ดี ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
               ๑) ตั้งใจฟัง พยายามจับเนื้อหาและทำความเข้าใจในเนื้อเรื่องที่ผู้พูดกำลังพูด ต้องมีสมาธิจดจ่อในการฟัง
               ๒) ต้องคิดตาม คือ คิดตามไปกับเรื่องที่กำลังฟังนั้นด้วยการใช้วิจารณญาณอย่างมีเหตุมีผล
               ๓) ไม่ขัดจังหวะผู้พูด คือ ไม่พูดสอดแทรก โต้แย้ง หรือซักถาม เมื่อผู้พูดยังพูดไม่จบ ต่อเมื่อผู้พูดพูดจบแล้วจึงโต้แย้งหรือซักถามได้
               ๔) ต้องควบคุมอารมณ์ในการฟัง เมื่อไม่พอใจในคำพูดหรือไม่อยากฟังผู้นั้นพูด ต้องรู้จักเก็บอารมณ์ที่ไม่ดีไว้ ไม่แสดงอารมณ์ที่แสดงว่าไม่พอใจออกมา จึงจะนับได้ว่าเป็นผู้ฟังที่ดี
               ๕) แสดงความสนใจผู้พูด ซึ่งทำได้โดยการมองสบตาผู้พูดในบางจังหวะ พยักหน้าเมื่อเห็นด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้พูดมีกำลังใจในการพูด
ตัวอย่างการใช้ทักษะการสื่อสาร
               คุณพ่อซื้อกีตาร์ให้โต้งเป็นของขวัญวันเกิด เพราะโต้งมีผลการเรียนดี หลังจากได้กีตาร์โต้งก็ซ้อมเล่นกีตาร์ทุกวันจนดึกและในวันหยุดโต้งก็ไปซ้อม เล่นกีตาร์ที่บ้านเพื่อนจนไม่ได้อ่านหนังสือทำให้ผลการเรียนของโต้งตกต่ำลง อย่างมาก คุณพ่อจึงเรียกโต้งมาคุยในเย็นวันหนึ่ง
               คุณพ่อ : “โต้ง.ช่วงนี้พ่อไม่เห็นโต้งอ่านหนังสือทบทวนบทเรียนเลย”
               โต้ง : “ช่วงนี้โต้งอยากเล่นกีตาร์ให้เก่ง เพราะโต้งจะลงแข่งประกวดวงดนตรีกับเพื่อนที่โรงเรียนครับ”
               คุณพ่อ : “โต้ง ต้องแบ่งเวลาให้ถูกนะลูก การเรียนก็เป็นเรื่องที่สำคัญต่ออนาคตของลูก โต้งควรอ่านหนังสือทบทวนบทเรียนในช่วงใกล้สอบด้วย ไม่ควรเอาเวลาไปเล่นดนตรีเพียงอย่างเดียว เพราะหากโต้งมีผลการเรียนที่ไม่ดีพ่อกับแม่คงเสียใจที่ซื้อกีตาร์ให้กับโต้ง”
               โต้งนั่งและคิดตาม ในสิ่งที่คุณพ่อพูดสอนและเข้าใจจึงกราบขอโทษคุณพ่อ
               โต้ง : “โต้ง ขอโทษครับ ต่อไปโต้งจะแบ่งเวลาให้ถูกต้อง อ่านหนังสือทบทวนบทเรียน ไม่ใช่เวลาทั้งหมดไปกับการเล่นดนตรีโต้งไม่อยากทำให้พ่อแม่เสียใจ”
               คุณพ่อ : “ดีแล้วลูก พ่อและแม่รักและหวังดีกับโต้งจึงได้ตักเตือนนะ”
               อาชีพน่ารู้ เจ้าหน้าที่การทูต หรือ นักการทูต  เป็นบุคคลที่รัฐบาลแต่งตั้งให้ดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่นหรือองค์การ ระหว่างประเทศ โดยมีหน้าที่หลัก คือ การเป็นผู้แทนเจรจาและปกป้องผลประโยชน์ตลอดจนปกป้องประเทศ เช่นเดียวกับการสนับสนุนข้อมูลแล้วความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เจ้าหน้าที่การทูตส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาด้ายความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือ กฎหมาย
๒. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ
               ทักษะ การสร้างสัมพันธภาพ เป็นทักษะที่ช่วยให้บุคคลมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สามารถที่จะรักษาและดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น การรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิกในครอบครัวเป็นพื้นฐานในการสร้างสัมพันธภาพในสังคม ครอบครัวนั้นอาจประกอบด้วย สามี ภรรยา หรือ พ่อ แม่ ลูก หรืออาจรวมเป็นครอบครัวใหญ่ มีพ่อ แม่ ลูก ญาติพี่น้อง คนในครอบครัวย่อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มีความเข้าอกเข้าใจ จึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
หลักในการสร้างสัมพันธภาพในสังคม มีดังนี้
๑ ลูกต้องมีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่และบรรพบุรุษ
๒ ทุกคนในครอบครัวต้องรักและซื่อสัตย์ มีความเอื้ออาทร ห่วงใยซึ่งกันและกัน
๓ ทุกคนต้องให้ความร่วมมือช่วยเหลือกัน ไม่เอาเปรียบ และทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด
๔ เด็กต้องเค้ารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เองก็ควรรับฟังความคิดเห็นของเด็ก โดยเด็กจะต้องพูดหรือชี้แจงกับผู้ใหญ่อย่างสุภาพ ไม่ก้าวร้าว
๕ ต้องร่วมกันขจัดปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยความรักและ ความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจกัน
               การมีครอบครัวที่อบอุ่นเป็นความปรารถนาของทุกคนในครอบครัว หากทุกคนรู้จักสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ก็จะเป็นการป้องกัน ลดความขัดแย้ง รวมทั้งแก้ปัญหาในด้านต่างๆ รวมถึง เรื่องเพศด้วย และเมื่อมีครอบครัวที่อบอุ่นแล้ว ก็ควรร่วนกันรักษาสัมพันธภาพอันดีของครอบครัวให้คงไว้หรือดียิ่งขึ้น
ตัวอย่างการใช้ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ
               ปู ทะเลาะกับแม่และไม่พูดกับแม่หลายวันแล้วเพราะแม่ดุที่ปูกลับบ้านค่ำ และไม่ค่อยอยู่บ้านในวันหยุด หลายวันที่ผ่านมา ปูรู้สึกไม่สบายใจ จึงอยากขอโทษแม่ วันศุกร์ปูจึงกลับบ้านเร็ว และแวะตลาดซื้อขนมเค้กที่แม่ชอบกลับมาฝากแม่และกราบขอโทษแม่ที่ทำให้ไม่สบาย ใจ โดยปูสัญญาว่าจะกลับบ้านเร็ว และช่วยแม่ทำงานบ้านในวันหยุด
               ปู: คุณแม่คะ วันนี้ปูซื้อขนมเค้กที่คุณแม่ชอบมาฝาก
               แม่: ขอบใจจ้ะลูก
               ปู: ปูขอโทษที่พูดไม่ดีกับคุณแม่ และประพฤติตนไม่ดี ต่อไปปูจะไม่ทำอีกค่ะ ปูจะเป็นเด็กดีนะคะ
               แม่: ดีมากจ้ะลูก เพราะแม่รักลูกจึงเป็นห่วงลูกมากจ้ะ
๓. ทักษะการต่อรอง
               ทักษะ การต่อรอง หมายถึง กระบวนการติดต่อสื่อสาร เพื่อร่วมกันตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยแต่ละฝ่ายจะแสดงความต้องการ ความรู้สึก ความคิดเห็น ตลอดจนความคาดหวังของตนเองให้ทราบ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากความตั้งใจเดิมมาคล้อยตามตนเอง โดยรักษาไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
               ทักษะ การต่อรองจะต้องอาศัยทักษะการสื่อสารและทักษะการสร้างสัมพันธภาพ ซึ่งมีผลต่อการร่วมกันตัดสินใจ การยอมลดระดับความต้องการ เพื่อการคลี่คลายปัญหาที่เกิดขึ้น โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากความสำเร็จของการต่อรองนี้ จะต้องเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย ทักษะการต่อรองเป็นสิ่งที่เราใช้ปฏิบัติกันในชีวิตประจำวัน การต่อรองราคาในการซื้อขายสินค้า การต่อรองในการยืมคืนสิ่งของ ซึ่งการต่อรองนั้นมีความสำคัญ ดังนี้
               ๑.เป็นการป้องกันสิทธิของตนเอง เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์นั้นๆ
               ๒.เป็นการรักษาสิทธิของตน เพื่อแสดงถึงจุดยืนหรือความต้องการของตน ซึ่งเป็นสิทธิของบุคคลที่พึงกระทำ
               ๓.เป็นการลดระดับความเสียหายหรือความสิ้นเปลืองที่จะเกิดขึ้น ซึ่งถ้าไม่มีการต่อรองแล้ว จะเกิดความเสียหาย หรือสิ้นเปลืองมากกว่านี้
               ๔. สร้างความสัมพันธ์ ความเข้าใจระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสองฝ่าย
               ๕. เป็นกระบวนการช่วยพัฒนาการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างตนเองและสร้างกลุ่มอีกด้วย
               ๖. เป็นการปลูกจิตสำนึกในหน้าที่และกิจกรรมต่างๆ เพื่อการพัฒนา การจัดการและการประเมินตนเองอย่างเหมาะสมในการดำเนินชีวิต
               ๗. เป็นกระบวนการคิด วิเคราะห์ คาดการณ์ ประเมินสถานการณ์ โดยใช้กระบวนการในเชิงบูรณาการทักษะชีวิต เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ ในขณะเผชิญปัญหาและมีการต่อรองได้อย่างรอบคอบ
               ๘. เป็นการก่อให้เกิดความเมตตาต่อกัน รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เคารพสิทธิผู้อื่นอันจะก่อให้เกิดการลดความขัดแย้ง และเกิดความสงบสุขในครอบครัวและสังคม
ตัวอย่างการใช้ทักษะการต่อรอง
สถานการณ์ที่ผู้หญิงถูกผู้ชายลวนลาม ผู้หญิงควรกระทำดังนี้
๑. ตั้งสติให้ดี ไม่แสดงความตกใจ ความเครียดและ ความหวาดกลัวมากจนเกินไป
๒. รับฟังข้อเสนออย่างตั้งใจ พร้อมคิดคำตอบและคำพูดโต้ตอบ โดยการชั่งใจตนในประเด็นต่างๆ อย่างวดเร็วและ รอบครอบ
๓. ไม่แสดงการตอบรับ หรือปฏิเสธโดยทันทีด้วยการแสดงกิริยาวาจาท่าทางที่ทำให้อีกฝ่ายเกิดความ รู้สึกในทางที่ไม่ดี เช่น กริยาก้าวร้าว ดูถูก โกรธ อันจะทำให้เขาเกิดความโกรธ และก่อให้เกิดความเสียหายต่อเราได้
๔. การพูดหรือแสดงท่าทางเป็นมิตร และคอยหาทางปฏิเสธด้วยคำว่า "ขอโทษ" หรือ "เสียใจ" ที่เราไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของเขาได้
๕. แสดงความรู้สึกของตนเองพร้อมให้เหตุผล โดยแสดงถึงข้อดี ข้อเสีย ที่จะเกิดขึ้นจากสถานการณ์นั้น ๆ
๖. รู้จักผักผ่อนหรือหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์ เช่น การขอให้เขาหยุดการกระทำนั้นแต่ผัดผ่อนไว้โอกาสหน้า พยายามออกไปจากสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยนั้น
๗. พยายามใช้ทักษะการสื่อสารด้วยคำพูดที่จะทำให้ตัวเองรอดจากสถานการณ์นั้นให้ได้ก่อน เช่น การพูดหลอกล่อเพื่อเอาตัวรอด
๘. มีการยืดหยุ่นบ้าง รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา คล้อยตามบ้าง จะช่วยให้การต่อรองมีผลมากยิ่งขึ้น
ที่มา อุทัย สงวนพงศ์ หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

๔. ทักษะการปฏิเสธ

ทักษะการปฏิเสธเป็นทักษะสื่อสารเพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิดของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้และยอมรับว่าตนเองไม่เห็นด้วย โดยไม่เสียสัมพันธภาพอันดีต่อกัน

องค์ประกอบของการปฏิเสธ มีดังนี้

๔.๑ คุณลักษณะของการปฏิเสธ

๑) การปฏิเสธเป็นสิทธิและความต้องการโดยชอบธรรมที่จะปฏิเสธ

๒).การที่จะปฏิเสธหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เพราะในเรื่องเดียวกันแต่ถ้าคนละสถานการณ์ ก็อาจปฏิเสธได้ทั้งที่ในสถานการณ์ครั้งก่อนไม่ปฏิเสธ

๓) .มีการพิจารณาถึงพฤติกรรม ว่าพฤติกรรมนั้นควรปฏิเสธหรือไม่

๔).มีองค์ประกอบในด้านความรู้สึก การแสดงพฤติกรรมที่ต้องการ และความคิดเห็นส่วนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง

๔.๒ หลักการปฏิเสธ

๑) ควรปฏิเสธด้วยคำพูด น้ำเสียง ท่าทางที่จริงจังแต่มีความสุภาพ เพื่อแสดงความตั้งใจอย่างชัดเจนในการปฏิเสธ

๒) แสดงความรู้สึกและพฤติกรรมประกอบไปกับเหตุผล

๓) การขอความเห็นส่วนร่วมกับการแสดงการขอบคุณ การขอโทษ เพื่อรักษาน้ำใจและสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

๔) มีสมาธิในการปฏิเสธเมื่อถูกรบเร้าไม่ควรหวั่นไหวหรือลังเล ควรยืนยันการปฏิเสธ และหาทางออกโดยวิธีการดังนี้

-ควรปฏิเสธซ้ำโดยไม่ต้องใช้ข้ออ้าง พร้อมทั้งกล่าวคำอำลา โดยไม่ฟังคำพูดอื่นใดอีก เพื่อไม่ให้เกิดความลังเลใจ หรือขาดความเชื่อมั่นในตนเอง

-มีการต่อรองหรือผัดผ่อน โดยการหากิจกรรมอื่นมาทดแทน

-มีการผัดผ่อน โดยยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนใจ

๔.๓ การเลือกใช้ทักษะการปฏิเสธ

๑) ไม่ชอบหรือไม่ต้องร่วมกิจกรรมต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดความอึดอัดหรือคับข้องใจก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธ

๒) เมื่อรู้สึกลังเลใจต่อการเลือกสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง ก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งเสีย

๓) เมื่อรู้สึกว่าสถานการณ์นั้นเสี่ยงต่อตนเอง ก็ควรใช้ทักษะการปฏิเสธในสถานการณ์ ดังกล่าวนั้น

๔.๔ ประโยชน์ของการปฏิเสธ

๑) เป็นการแสดงสิทธิอันชอบธรรมของบุคคลต่อการแสดงความรู้สึกไม่พอใจความขัดแย้งของตนเอง ต่อผู้อื่นโดยไม่เสียสัมพันธภาพ

๒) ทำให้เกิดความปลอดภัยหรือป้องกันการเกิดความสูญเสียซึ่งอาจเกิดขึ้นได้

๓) เป็นการระงับความขัดแย้งหรือเพื่อการรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อกันให้คงอยู่

๔) ใช้ในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งสถานการณ์เสี่ยงต่อสุขภาพและเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน

ตัวอย่างการใช้ทักษะการปฏิเสธ

บอยมาหาบีที่บ้านเพื่อช่วยกันทำรายงาน หลังทำรายงานเสร็จบอยจึงใช้คำพูดขอหอมแก้มบีและบอกว่ารักบีมาก

บอย: “เราขอหอมแก้มบีได้มั้ย บอยรักบีนะ”

บี: “บีว่าอย่าดีกว่านะ มันไม่เหมาะสม เพราะเรายังเด็กกันอยู่ อย่าทำอะไรแบบนี้เลย”

บอย: “บีไม่รักบอยเหรอ”

บี: “บีก็รักบอย แต่ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลา เราควรเป็นเพื่อนกันไปก่อน และทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด เรียนหนังสือให้จบ มีงานทำและสามารถรับผิดชอบตนเองได้ นั่นคือ เวลาที่เหมาะสมสำหรับเรื่องนี้”

บอย: “บอยขอโทษ ต่อไปบอยจะไม่ทำอย่างนี้อีก”



๕. ทักษะการคิดวิเคราะห์

ทักษะการคิดวิเคราะห์เป็นการคิดอันจะนำไปสู่การตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่คิดใคร่ครวญถึงเหตุผล สามารถตอบคำถามได้ว่าที่ทำเช่นนี้เพราะคิดอย่างไร ผู้ที่เป็นนักคิดวิเคราะห์จะเป็นคนที่มีเหตุผลและคาดหมายผลที่จะเกิดในอนาคตได้อย่างแม่นยำ เมื่อบุคคลมีลักษณะเช่นนี้ก็หายากที่จะเกิดปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวรวมถึงปัญหาในเรื่องเพศ

ผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์ได้ดีจะต้องเป็นบุคคลที่อ่านมาก ฟังมาก มีข้อมูลต่างๆในสมองมากและเป็นคนช่างคิด มีเหตุผล ดังนั้นเราจึงต้องฝึกฝนตนเอง ฝึกคิดวิเคราะห์บ่อยๆ แล้วดูผลว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นจริงตามที่เราคิดวิเคราะห์ไว้หรือไม่ และต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการคิดวิเคราะห์อยู่เสมอเพื่อเพิ่มความชำนาญ

ตัวอย่างการใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์

นุ้ยย้ายมาอยู่กับคุณยายที่ต่างจังหวัด เพราะ พ่อแม่แยกทางกันและต่างมีครอบครัวใหม่ ช่วงแรกนุ้ยรู้สึกว่าตนเองเป็นเด็กมีปัญหาครอบครัว จึงชอบทำตัวเกเร กลับบ้านดึก ติดเพื่อน จนคุณยายได้เรียกนุ้ยมาคุยเกี่ยวกับปัญหาของนุ้ย และถามนุ้ยว่าทำไมนุ้ยจึงทำตัวเกเร หากนุ้ยยังปฏิบัติตนเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ อนาคตของนุ้ยจะเป็นเช่นไร นุ้ยคงเรียนไม่จบและไม่มีงานที่ดีทำ นั่นหมายถึง อนาคตหากนุ้ยมีครอบครัว ลูกของนุ้ยอาจจะต้องลำบาก นุ้ยจึงคิดได้และกลับมาตั้งใจเรียนและเป็นเด็กดีของพ่อแม่และคุณยาย

ยาย:”นุ้ย ถ้าหนูไม่ตั้งใจเรียน เรียนไม่จบ อนาคตของนุ้ยจะเป็นอย่างไรลูก”

นุ้ย:”นุ้ยก็จะไม่มีงานทำหรือได้งานที่ไม่ดี มีรายได้ไม่พอเลี้ยงตนเองและครอบครัว”

ยาย:”ถ้านุ้ยรู้อย่างนี้แล้วนุ้ยจะปรับปรุงตัวมั้ยลูก”

นุ้ย:”นุ้ยจะปรับปรุงตัวไม่เกเร ตั้งใจเรียนไห้คุณยายภูมิใจค่ะ”

๖. ทักษะการตัดสินใจ

ทักษะการตัดสินใจ เป็นทักษะที่จะนำไปสู่พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของบุคคล โดยมีการประเมินทางเลือก และผลจากการตัดสินใจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับบุคคลนั้น

การตัดสินใจ เป็นกระบวนการซึ่งแยกเป็น ๖ ขั้นตอนดังนี้

๑. การกำหนดหรือระบุปัญหาซึ่งขึ้นอยู่บนพื้นฐานของการสังเกตพฤติกรรมของบุคคล สถานการณ์ที่ขัดแย้งจะช่วยให้บุคคลเกิดความคิด และมีจินตนาการเพื่อจะเกิดแนวทางต่างๆ

๒. ค้นหารวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อการตัดสินใจ

๓. หาหนทางเลือกที่มีอยู่ว่ามีกี่หนทาง

๔. หาข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละทางเลือก

๕. ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากความรู้ เจตคติ และค่านิยมจากประสบการณ์ที่มีอยู่

๖. ประเมินผลจากการติดสินใจ ว่าตัดสินใจถูกหรือผิด เกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไร ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญที่สุด

การตัดสินใจที่ดีจะช่วยในการป้องกัน ลดความขัดแย้งและแก้ปัญหาเรื่องเพศและครอบครัวได้

ตัวอย่างการใช้ทักษะการตัดสินใจ

โอ๊ตชวนตุ๊กตาไปดูหนังรอบดึกสองคน ตุ๊กตากำลังตัดสินใจว่าจะไปหรือไม่ไป

ไป

ข้อดี: ดูหนังสนุก

ข้อเสีย: กลับบ้านดึกโดนพ่อแม่ดุ , เสี่ยงต่ออันตรายทางเพศ , ไม่ได้อ่านหนังสือ

ไม่ไป

ข้อดี: ได้อ่านหนังสือทำการบ้าน ,พ่อแม่สบายใจ , ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่างๆ

ข้อเสีย: โอ๊ตอาจจะโกรธ

ตุ๊กตาตัดสินใจไม่ไปดูหนังกับโอ๊ตโดยให้เหตุผลว่า ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ
๗. ทักษะการแก้ไขปัญหา 

ทักษะการแก้ไขปัญหา เป็นทักษะที่ต้องทำหลังจากใช้ทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติแล้ว โดยใช้เหตุผลและสติในการแก้ไขปัญหาอย่างรอบคอบแทนการใช้อารมณ์ เพื่อให้ปัญหาคลี่คลายไปในทางที่ถูกต้อง

การแก้ปัญหา โดยใช้เหตุผลการแก้ปัญหา จะทำให้ปัญหาต่างๆได้รับการแก้ไขให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และช่วยป้องกันและลดความขัดแย้งในครอบครัวรวมทั้งปัญหาเรื่องเพศ เราจึงต้องฝึกหัดใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาจนติดเป็นนิสัย และต้องรู้จักแยกแยะอารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้น พร้องทั้งต้องฝึกหัดการควบคุมอารมณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้อารมณ์เข้าไปมีบทบาทในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการแก้ปัญหา

ตัวอย่างการใช้ทักษะการแก้ปัญหา

เอ็มกับออม เป็นพี่น้องที่ชอบแย่งกันใช้คอมพิวเตอร์จนมีปัญหาทะเลาะกันเป็นประจำ ทำให้คุณพ่อต้องเรียกทั้งสองมาปรับความเข้าใจและตกลงเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน

คุณพ่อ:”ทำไมลูกทั้งสองคนจึงทะเลาะกันเรื่องใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ”

เอ็ม:”ออมชอบมาเร่งให้ผมเลิกใช้ทั้งที่ผมยังใช้ไม่เสร็จเลยครับ”

ออม:”พี่เอ็มใช้คอมพิวเตอร์นาน กว่าออมจะได้เล่นก็มืดแล้ว”

คุณพ่อ:”’งั้นคงต้องหาข้อตกลงร่วมกัน ทั้งสองมีข้อเสนออย่างไรบ้าง”

เอ็ม:”ใครมาถึงบ้านก่อนได้เล่นก่อน”

ออม:”ใช้เวลาเล่นคนละไม่เกิน ๑ ชั่วโมง”

เอ็ม:”แล้วถ้าต้องทำงานส่งอาจารย์ล่ะ”

ออม:”ถ้าต้องทำงาน คนที่เล่นต้องเลิกก่อน แล้วค่อยกลับมาเล่นใหม่ หมุนวนกันไป”

คุณพ่อ:”’งั้นตกลงกันว่าใครมาถึงบ้านก่อนได้เล่นก่อน และครบ ๑ ชั่วโมงต้องให้อีกคนเล่น แต่หากมีงานต้องทำ ต้องให้คนทำงานใช้ก่อน ลูกทั้ง ๒ เป็นคนมีเหตุผล ดีมากเลยลูก”

การมีความสามรถในการใช้ทักษะต่างๆในการดำเนินชีวิต จะช่วยป้องกันและลดความขัดแย้งในครอบครัว รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องเพศ และปัญหาครอบครัวเรื่องต่างๆได้อย่างถูกต้อง

เอ็ม : “ ใครมาถึงบ้านก่อนได้เล่นก่อน”

ออม : “ใช้เวลาเล่นคนละไม่เกิน ๑ ชั่วโมง”

เอ็ม : “แล้วถ้าต้องใช้ทำงานส่งอาจารย์ล่ะ”

ออม : “ถ้าต้องทำงาน คนที่เล่นต้องเลิกก่อน แล้วค่อยกลับมาเล่นใหม่ หมุนวนกันไป”

คุณพ่อ : “งั้นตกลงว่าใครมาถึงบ้านก่อนได้เล่นก่อน และครบ ๑ ชั่วโมงต้องให้อีกคนเล่นแต่หากมีงานต้องทำ ต้องให้คนทำงานใช้ก่อนลูกทั้ง ๒ เป็นคนมีเหตุผลมากเลยลูก”

การมีความสามารถในการใช้ทักษะต่างๆ ในการดำเนินชีวิต จะช่วยป้องกันและลดความขัดแย้งในครอบครัว รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาเรื่อง และครอบครัวเรื่องต่างๆได้อย่างถูกต้อง

หลักธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

การอยู่ร่วมกันในสังคมอาจมีการกระทบกระทั่งกันด้วยวาจาใจและการเบียดเบียนกันซึ่งทำให้สังคมขาดความสงบสุข การปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างราบรื่นเรียบร้อย มีความสุข และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำได้โดยใช้หลักธรรม สังคหวัตถุ ๔ ซึ่งประกอบด้วย

๑.๑ ทาน คือการให้ปันสิ่งของ ๆ ตนต่อผู้อื่น การผูกใจคนต้องอาศัยการให้เป็นหลักพื้นฐาน การให้เป็นการแสดงออกถึงไมตรีจิตของผู้ให้ที่ผู้รับพอใจ

๑.๒ ปิยวาจา คือการมีถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวานน่าฟัง ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยครองใจคนด้วยไมตรีจิต

๑.๓ อัตถจริยา คือการประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นคนไม่ดูดาย รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น บำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม

๑.๔ สมานัตตตา คือความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอ วางตนเหมาะสมไม่ถือตัว นอบน้อมต่อผู้ใหญ่

บทความเรื่องความขัดแย้งในครอบครัว กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

www.dmh.go/sty_libnews/news/view.asq?id=4895
กิจกรรมพัฒนาความสามารถในการอ่าน 

ให้นักเรียนอ่านคำศัพท์และความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้ 
คำศัพท์ คำอ่าน ความหมาย วิจารณญาณ วิ-จา-ระ-นะ-ยาน ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้องได้ สนทนา สน-ทะ-นา คุยกัน ปรึกษาหารือกัน พูดจาโต้ตอบกัน 

แผนผังสรุปสาระสำคัญ

ทักษะชีวิตในการป้องกันและลดความขัดแย้ง

๑. ทักษะการสื่อสาร
คือ การมีความสามารถในการเป็นผู้พูด ละผู้ฟังที่ดี เพื่อให้การสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์

๒. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ
เป็นทักษะที่ช่วยให้บุคคลมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อป้องกันและลดความขัดแย้ง โดยใช้ความรักและความเข้าใจต่อกัน

๓. ทักษะการต่อรอง 
เป็นการสื่อสารให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความตั้งใจเดิมมาคล้อยตามตนเองโดยรักษาไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน 

๔. ทักษะการปฏิเสธ
เป็นการสื่อสารเพื่อแสดงความรู้สึกของตนว่าไม่เห็นด้วยโดยไม่เสียสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

๕. ทักษะการคิดวิเคราะห์

เป็นการใช้ข้อมูลคิดใคร่ครวญ หาเหตุผลและคาดหมายผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำ

๖. ทักษะการตัดสินใจ 
เป็นการประเมินทางเลือกโดยใช้ความรู้ เจตคติทางเลือกทางที่ก่อให้เกิดผลดี 

๗. ทักษะการแก้ไขปัญหา 
เป็นการใช้ปัญญาและมีสติในการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง เพื่อให้ปัญหาคลี่คลา


ที่มา https://sites.google.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น