วิทยาศาสตร์


วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

ทฤษฎีวิวัฒนาการ คือแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามจะอธิบายว่าวิวัฒนาการมีจริงและเกิดขึ้น ได้อย่างไรโดยอาศัยหลักฐานทางด้านต่างๆประกอบและยืนยันแนวโน้มของวิวัฒนาการมีดังนี้

1. เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไปข้างหน้าไม่ย้อนกลับ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากแบบ ง่าย ๆ เป็นซับซ้อนจากแบบโบราณเป็นแบบก้าวหน้าและจากแบบทั่วไปเป็นแบบจำเพาะเจาะจงเช่น การลดจํานวนของกระดูก ก้นกบหรือการเชื่อมของ กลีบดอกเป็นต้น
2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจะถูกกำจัด หรือสูญหายไป
ทฤษฎีวิวัฒนาการของนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ ได้แก่
3. ทฤษฏีของดาร์วิน และ วอลเลช (Alfred Russel Wallace)

ลามาร์ค

นักวิวัฒนาการชาวฝรั่งเศสได้เสนอความคิดในเรื่อง วิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตไว้เป็น 2 ข้อ คือ
1. กฎแห่งการใช้ และไม่ใช้ (law of use and disuse) มีใจความสําคัญว่า “ลักษณะของสิ่งมีชีวิตผันแปรได้ตามสภาพแวดล้อมอวัยวะใดที่ใช้อยู่บ่อยๆย่อมขยายใหญ่ขึ้น ส่วนอวัยวะใดที่ไม่ได้ใช้จะค่อยๆลดขนาด อ่อนแอลงและหายไปในที่สุด”
2. กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ (law of inheritance of acquired characteristics) มีใจความว่า “ลักษณะที่ได้มาใหม่หรือเสียไปโดยอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม โดยการใช้และไม่ใช้จะคงอยู่และสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เกิดใหม่นี้ไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ต่อไปได้” ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตที่ลามาร์คยกมาอ้างอิงได้แก่
     ๐ พวกนกน้ำ โดยกล่าวว่านกที่หากินบนบกจะไม่มีแผ่นพังผืดหนังต่อระหว่างนิ้วเท้า ส่วนนกที่หากินในนํ้ามีความต้องการใช้เท้าโบกพัดนํ้าสําหรับการเคลื่อนที่ผิวหนังระหว่างนิ้วเท้า จึงขยายออกต่อกันเป็นแผ่นและลักษณะนี้ถ่ายทอดไปสู่ รุ่นลูกหลานได้

                                         เปรียบลักษณะเท้าของนกที่หากินบนบกและในน้ำ
                                                        ที่มา : http://wings.av/kids.com
 ยีราฟ ซึ่งในปัจจุบันมีคอยาว ลามาร์คได้อธิบายว่า ยีราฟในอดีตคอสั้นกว่าปัจจุบัน (จากหลักฐาน ของซากดึกดำบรรพ์)แต่ได้มีการฝึกฝนยืดคอเพื่อพยายามกินใบไม้ จากที่สูงๆ ทําให้คอยาวขึ้น การที่ต้อง เขย่งเท้ายืดคอทําให้ยีราฟมีขายาวขึ้นด้วยลักษณะ ที่มีคอยาวขึ้นและขายาวขึ้นนี้ถ่ายทอด มาสู่ยีราฟรุ่นต่อม
วิวัฒนาการของยีราฟคอยาวตามทฤษฎีของลาร์มาร์ค
ที่มา : http://necsi.org/projects/evolution
     ๐ สัตว์พวกงู ซึ่งไม่มีขาปรากฏให้เห็น แต่จากโครงกระดูกยังมีซากขาเหลือติดอยู่ ซึ่งลามาร์ค อธิบายว่างูอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพงหญ้ารกทึบการเลื้อยไปทําให้ลําตัวยาว ส่วนขาไม่ได้ใช้จึงค่อยๆ ลดขนาดเล็กลงและหายไป ลักษณะนี้ถ่ายทอดไปได้งูรุ่นต่อๆ มาจึงไม่มีขา
 การหดหายของขางูตามทฤษฎีของลามาร์ค
การทดลองเพื่อสนับสนุนความคิดของลามาร์คในเรื่องของกฎแห่งการใช้ และไม่ใช้นั้นพอจะมีตัวอย่างสนับสนุนได้เช่นการฝึกฝนกล้ามเนื้อจะทําให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่โตขึ้นมาไดเช่นนักกล้ามนักเพาะกายนักกีฬาประเภทต่างๆแต่สําหรับกฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะ ที่เกิดขึ้นใหม่ยังไม่มีการทดลองใดสนับสนุน
ออกัส ไวส์มาน (August Weisman ; 2377 – 2457) ได้เสนอความคิดค้านทฤษฎีของลามาร์คโดยกล่าวว่าลักษณะที่ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้นั้นจะต้องเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ มิใช่จากเซลล์ ร่างกาย เขาได้ทดลองตัดหางหนู ตัวผู้ตัวเมียแล้วให้ผสมพันธุ์กันปรากฎว่าลูกหลานออกมามีหาง การทดลองนี้ทําติดต่อกันถึง 20 รุ่น หนูในรุ่นที่ 21ก็ยังคงมีหางอยู่ไวส์มานอธิบายว่า เนื่องจาก ลักษณะที่ตัดหางหนูออกนั้นเป็นการกระทำต่อเซลล์ร่างกายแต่เซลล์สืบพันธุ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ลักษณะ หางยาวซึ่งจะถูกถ่ายทอดโดยเซลล์สืบพันธุ์ยังคงอยู่
 ชาร์ลส์ ดาร์วิน
ที่มา http://www.rbgkew.org.ukheritage/peopleimages/Darwin
ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นนักธรรมชาติวิทยาได้เดินทาง ไปกับเรือสํารวจ บีเกิล ของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งเดินทางไปสํารวจและทําแผนที่ของฝั่งของทะเลทวีปอเมริกาใต้ ดาร์วินได้ประสบการณ์ จากการศึกษาพืชและสัตว์ที่มีอยู่เฉพาะที่หมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos) แห่งเดียวในโลกดาร์วินได้สังเกตนกกระจอกที่อยู่บริเวณหมู่เกาะกาลาปากอสและนกฟินช์(finch)หลายชนิดพบว่าแต่ละชนิดมีขนาดและรูปร่างของจงอยปากแตกต่างกัน ตามความ เหมาะสมแก่การที่จะใช้กินอาหารแต่ละประเภท นกฟินช์มีลักษณะคล้ายนกกระจอกมากแตกต่างกัน เฉพาะลักษณะของจงอยปากเท่านั้น ดาร์วินเชื่อว่าบรรพบุรุษของนกฟินช์บนเกาะกาลาปากอสน่าจะ สืบเชื้อสายมาจากนกฟินช์บนแผ่นดินใหญ่แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ทําให้ หมู่เกาะนี้แยกจากแผ่นดินใหญ่และเกิดการแปรผันทางพันธุกรรม ของบรรพบุรุษนกฟินช์ มาเป็นเวลานานจนเกิดวิวัฒนาการเป็นสปีชีส์ใหม่ขึ้น
นกฟินช์ชนิดต่างๆบนหมู่เกาะกาลาปากอส
ที่มา :http://www.tecmalta.org/gen/finches
หมายเหตุ : หมู่เกาะกาลาปากอสเกิดจากภูเขาไฟระเบิดในมหาสมุทรแปซิฟิกห่างจากประเทศเอกวาดอร์ไปทางทิศตะวันตกประมาณ580ไมล์จากหลักฐานทางธรณีวิทยาแสดงว่าเกาะนี้แยก ตัวมาจากทวีปอเมริกานอกจากนี้ยังมีเต่ายักษ์3สปีชีส์ที่อาศัยอยู่บนหมู่เกาะกาลาปากอสต่างเกาะกัน สปีชีส์ที่มีคอยาวจะอยู่ในที่แห้งแล้ง และอาศัยพืชตระกูลกระบองเพชรเป็นอาหารส่วนสปีชีส์ ที่มีคอสั้นจะอาศัยอยู่ในที่ชุ่มชื้นและกินพืชผักที่ขึ้นอยู่กับพื้นดินเป็นอาหาร
เต่ายักษ์บนหมู่เกาะกาลาปากอส
ได้เสนอทฤษฎีการเกิดสปีชีส์ใหม่อันเนื่อง มาจาก การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ(theory of natural selection) มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันย่อมแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย เรียกว่า variation
2. สิ่งมีชีวิตมีลูกหลานจํานวนมากตามลําดับเรขาคณิต แต่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดก็มี จํานวนเกือบคงที่ เพราะมีจํานวนหนึ่งตายไป
3.สิ่งมีชีวิตจําเป็นต้องมีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด (struggle of existence)โดยลักษณะ ที่แปรผันบางลักษณะ ที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม ย่อมดํารงชีวิตอยู่ได้ และสืบพันธุ์ถ่ายทอด ไปยังลูกหลาน
4.สิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้นที่อยู่รอด(survival the fittest ) และดํารง เผ่าพันธุ์ของตนไว้และทําให้เกิด การคัดเลือกตามธรรมชาติเกิดความแตกต่าง ไปจากสปีชีส์เดิมมากขึ้นจนเกิดสปีชีส์ใหม่ สิ่งมีชีวิตที่จะอยู่รอด ไม่จำเป็นต้องเป็น สิ่งมีชีวิต ที่แข็งแรงที่สุด แต่เป็นสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมมากที่สุด ในกรณียีราฟคอยาวนั้น อธิบายตามทฤษฎีของดาร์วินได้ว่า ยีราฟมี บรรพบุรุษ ที่คอสั้นแต่เกิดมี variation ที่มีคอยาวขึ้น ซึ่งสามารถหาอาหาร พวกใบไม้ได้ดี กว่าตัวพวกคอสั้นและถ่ายทอดลักษณะ คอยาวไปให้ลูกหลาน ได้ ส่วนพวกคอสั้นหาอาหารได้ไม่ดีหรือแย่งอาหาร สู้พวกคอยาวไม่ไดในที่สุดก็จะตายไป จึงทําให้ ในปัจจุบันมีแต่ยีราฟคอยาวเท่านั้น
ภาพแสดงทฤษฎีการวิวัฒนาการของยีราฟของดาร์วินด้วยวิธีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
ที่มา : http://www.tparents.org
ดาร์วินได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชาวิวัฒนาการ ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาตของดาร์วินดังนี้คือ “ความแปรผันที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตใด ๆ ก็ตามย่อมมีส่วนช่วยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตได้ ในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ส่วนความแปรผันที่ไม่เหมาะสม ทําให้สิ่งมีชีวิตถูกกําจัดไปด้วย เหตุนี้เมื่อเวลา ล่วงเลยไปนานขึ้นลักษณะที่เหมาะสมก็จะสะสมไปนานขึ้น ลักษณะที่เหมาะสม ก็จะสะสมไปนานขึ้น เกิดสิ่งมีชีวิตแตกต่าง จากเดิมมากมาย จนในที่สุดก็เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่” ดังแสดงในรูปที่ 2.14
ความสามารถในการแพร่พันธุ์
(reproductive ability)
ข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อม
(environmental restriction)
      การต่อสู้เพื่อความอยู่รอด        (struggleforexistence)
การแปรผันของพันธุกรรม
(heritable variations)
การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
(natural selection)
        การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม         (environmental changes)

 แสดงแผนภูมิแสดงแนวความคิดหลักตามทฤษฎีการคัดเลือก
โดยธรรมชาติของชาร์ล ดาร์วิน และวอลเลซ
































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น